แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
1. หลักการสร้างภาพ
1. การกำหนดพื้นหลังของภาพเป็นการกำหนดภาพ หรือสีพื้นหลัง โดยภาพหรือสีพื้นหลังที่ใช้นั้นควรมีโทนสีที่
ให้อารมณ์และสื่อความหมายได้ถูกต้องตามจุดประสงค์ของชิ้นงาน
2. การเลือกพื้นที่ภาพที่ใช้งานเป็นการตัด หรือคัดลอกบางส่วนของภาพต่างๆ ที่เราจะนำมาใช้ในชิ้นงานของเรา
3. การจัดวางภาพให้เหมาะสมเมื่อเรานำภาพส่วนประกอบมารวมกันในชิ้นงาน อาจมีบางภาพที่มีขนาด
และมุมการจัดวางไม่ลงตัว เราก็สามารถขยาย หมุน และบิดภาพให้เข้ากัน
4. การใส่ข้อความเป็นการใส่ข้อความที่เป็นชื่อ เรื่อง หรือคำบรรยายต่างๆ เข้าไปตกแต่งเพิ่มเติม
5. การนำภาพส่วนประกอบมาจัดซ้อนกันนำภาพส่วนประกอบที่เลือกไว้ มาทำการซ้อนกัน โดยบางส่วนอาจจะอยู่
ด้านบนหรือด้านล่าง ตามจุดประสงค์ที่วางไว้
6. ตกแต่งทุกส่วนประกอบเข้ากันอย่างกลมกลืน
สุดท้าย เราจะพิจารณาภาพรวมชิ้นงานที่ได้ และปรับแต่งรายละเอียดของภาพประกอบแต่ละส่วนให้ดูกลมกลืนกัน
เพื่อให้ได้ผลงานที่สวยงาม
2. โมเดลสีแบบต่าง ๆ
โดยทั่วไปแล้วสีต่าง ๆ ในธรรมชาติและสีที่ถูกสร้างขึ้น จะมีรูปแบบการมองเห็นสีที่แตกต่างกัน ซึ่งรูปแบบการ
มองเห็นสี เรียกว่า “โมเดล (Model)” ดังนั้น จึงทำให้มีโมเดลหลายแบบดังที่เราจะได้ศึกษาต่อไปนี้
- โมเดล HSB ตามหลักการมองเห็นสีของสายตามนุษย์
- โมเดล RGB ตามหลักการแสดงสีของเครื่องคอมพิวเตอร์
- โมเดล CMYK ตามหลักการแสดงสีของเครื่องพิมพ์
- โมเดล Lab ตามมาตรฐานของ CIE
1. โมเดล HSB ตามหลักการมองเห็นสีของสายตามนุษย์ เป็นลักษณะพื้นฐานการมองเห็นสีด้วยสายตาของมนุษย์
โมเดล HSB จะประกอบด้วยลักษณะของสี 3 ลักษณะ
1. Hue เป็นสีของวัตถุที่สะท้อนเข้ามายังตาของเราทำให้เราสามารถมองเห็นเป็นวัตถุสีได้ซึ่งแต่ละสี
จะแตกต่างกันตามความยาวของคลื่นแสงที่มากระทบวัตถุและสะท้อนกลับมาที่ตาของเรา
2. Saturation ความอิ่มตัว คือสัดส่วนของสีเทาที่มีอยู่ในสีนั้น โดยวัดค่าสีเทาในสีหลักเป็นเปอร์เซ็นต์ดังนี้คือ
จาก 0% (สีเทาผสมอยู่มาก) จนถึง 100% (สีเทาไม่มีเลย หรือเรียกว่า “Saturation” คือสีมีความอิ่มตัวเต็มที่)
3. Brightness เป็นเรื่องราวของความสว่างและความมืดของสี ซึ่งถูกกำหนดค่าเป็นเปอร์เซ็นต์จาก0 % (สีดำ)
ถึง 100% (สีขาว) ยิ่งมีเปอร์เซ็นต์มากจะทำให้สีนั้นสว่างมากขึ้น
2. โมเดล RGB ตามหลักการแสดงสีของเครื่องคอมพิวเตอร์
โมเดล RGB เกิดจากการรวมกันของสเปกตรัมของแสงสีแดง (Red) , เขียว (green) , และน้ำเงิน (Blue)
ในสัดส่วนความเข้มข้นที่แตกต่างกัน โดยจุดที่แสงทั้งสามสีรวมกันจะเป็นสีขาว นิยมเรียกการผสมสีแบบนี้ว่า “Additive Color”
แสงสี RGB มักจะถูกใช้สำหรับการส่องแสงทั้งบนจอภาพทีวีและจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งสร้างจากสารที่ทำให้เกิดแสงสีแดงสีเขียว
และสีน้ำเงิน ทำให้สีดูสว่างกว่าความเป็นจริง
3. โมเดล CMYK ตามหลักการแสดงสีของเครื่องพิมพ์
โมเดล CMYK มีแหล่งกำเนิดสีอยู่ที่การซึมซับ (Absorb) ของหมึกพิมพ์บนกระดาษ โดยมีสีพื้นฐานคือ
สีฟ้า (Cyan) สีบานเย็น (Magenta) และสีเหลือง (Yellow) โดยเรียกการผสมสีทั้ง 3 สีข้างต้นว่า “Subtractive color”
แต่สี CMY ก็ไม่สามารถผสมรวมกันให้ได้สีบางสี เช่น สีน้ำตาล จึงต้องมีการเพิ่มสีดำ (Black) ลงไปฉะนั้นเมื่อรวมกันทั้ง 4 สี
คือ CMYK สีที่ได้จากการพิมพ์ จึงจะครอบคลุมทุกสี
4. โมเดล Lab ตามมาตรฐานของ CIE
โมเดล Lab เป็นค่าสีที่กำหนดขึ้นโดย CIE (commission Internationale d ́ Eclairage)ให้เป็นมาตรฐานกลาง
ของการวัดสีทุกรูปแบบครอบคลุมทุกสีใน RGB และ CMYK และใช้ได้กับสีที่เกิดจากอุปกรณ์ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นจอคอมพิวเตอร์
เครื่องพิมพ์ เครื่องสแกนและอื่น ๆ ส่วนประกอบของโหมดสีนี้ได้แก่
L หมายถึง ค่าความสว่าง (Luminance)
a หมายถึง ส่วนประกอบที่แสดงการไล่สีจากสีเขียวไปยังสีแดง
b หมายถึง ส่วนประกอบที่แสดงการไล่สีจากสีน้ำเงินถึงสีเหลือง
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
ใบความรู้ที่ 1 โมเดลสีแบบต่าง ๆ 2560.
[ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.rsschool.ac.th/rsdoc/cai-pshopcs4/subject6_1.html
(23 กรกฎาคม 2560).